วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

บทวิเคราะห์

บทละครเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง สามารถนำมาวิเคราะห์และประเมินคุณค่าในด้านต่างๆได้ดังนี้

คุณค่าทางด้านเนื้อหา

๑) กโครงเรื่อง

๑.๑) แนวคิดของเรื่อง เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิงเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักที่พ่อมีให้ต่อลูก รักและตามใจลูกทุกอย่าง แม้กระทั่งตัวตายก็ยอม

๑.๒) ฉาก เนื้อเรื่องเป็นเรื่องของชวา แต่การบรรยายฉากในเรื่องเป็นฉากของไทย บ้านเมืองที่กล่าวพรรณนาไว้คือกรุงรัตนโกสินทร์ วัฒนธรรมประเพณีที่ปรากฏในเรื่องคือเรื่องของไทยที่สอดแทรกไว้อย่างมีศิลปะ อาทิ พระราชพิธีสมโภชลูกหลวง(เมื่ออิเหนาประสูติ) พระราชพิธีการพระเมรุที่เมืองหมันหยา พระราชพิธีรับแขกเมือง (เมื่อเมืองดาหารับทูตจรกา) พระราชพิธีโสกันต์ (สียะตรา) ซึ่งล้วนแต่เป็นพรราชพิธีของไทยแต่โบราณ

๑.๓) ปมขัดแย้ง ตอนศึกกะหมังกุหนิงมีหลายข้อขัดแย้ง แต่ละปมปัญหาเป็นเรื่องที่อาจเกิดได้ในชีวิตจริง ละสมเหตุสมผล เช่น

ท้าวกุเรปันจะให้อิเหนาอภิเษกกับบุษบา แต่อิเหนาหลงรักจินตะหรา ไม่ยอมอภิเษกกับบุษบา

๒) ตัวละคร ในเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง มีตัวละครที่มีบทบาทสำคัญปรากฏอยู่มาก ตัวละครมีบุคลิกนิสัยที่โดดเด่นและแตกต่างกัน เช่น เช่น

๒.๑) ท้าวกุเรปัน เป็น กษัตริย์เทวาผู้ยิ่งใหญ่ มีอนุชา ๓ องค์ ครองเมืองดาหา กากลัง สิงหัดส่าหรี ลักษณะนิสัย เป็นคนถือยศศักดิ์ ไม่ไว้หน้าใคร เป็นคนรักเกียรติรักวงศ์ตระกูล

๒.๒) ท้าวดาหา เป็นอนุชาองค์รองของท้าวกุเรปัน มีลักษณะนิสัย เป็นผู้รักษาคำสัตย์ เป็นผู้ที่มีขัตติยะมานะ เป็นผู้มีความรอบคอบในการศึก

๒.๓) อิเหนา เป็นโฮรสท้าวกุเรปันกับประไหมสุหรี อิเหนาเป็นหนุ่มรูปงาม เข้มแข็ง ใจเด็ด เอาแต่ใจตนเอง เจ้าชู้

๒.๔) จินตะหรา ราชธิดาของระตูหมันหยากับประไหมสุหรี มีลักษณะนิสัย เป็นคนแสงงอนใจน้อย เป็นคนมีเหตุมีผล ไม่ดื้อดึง เป็นคนที่มีความรู้สึกไว รับรู้ไว

๒.๕) ท้าวกะหมังกุหนิง เป็นกษัตริย์เมืองกะหมังกุหนิง มีลักษณะนิสัย ป็นคนรักลูกยิ่งชีวิต เป็นคนใจเด็ดขาด เป็นคนประมาท

คุณค่าด้านกลวิธีการแต่ง

๑. จินตภาพ กวีใช้คำบรรยายได้ชัดเจน สามารถทำให้ผู้อ่านสามารถคิดภาพตามและได้รับอรรถรสในการอ่านมากขึ้น

๒. ภาพพจน์ ภาพพจน์ที่กวีใช้มีหลายลักษณะ ดังนี้

๒.๑) การเปรียบเทียบแบบอุปมา หรืออุปมาโวหาร เป็นการใช้โวหารเปรียบเทียบโดยใช้คำเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนสิ่งหนึ่ง ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

๒.๒)การเปรียบเทียบการเกินจริงหรือการใช้โวหารอธิพจน์เป็นการใช้คำเปรียบเทียบที่เกินจริง เพื่อเน้นความรู้สึกให้ผู้อ่านเห็นภาพและเกิดความลึกซึ้งได้ง่าย

๓. การเล่นคำ โดยการซ้ำคำ มีการใช้ภาษาสละสลวยงดงาม การเล่นคำพ้องเสียง เล่นสัมผัสพยัญชนะเพื่อให้เกิดความไพเราะ

คุณค่าด้านความรู้และความคิด

๑)แสดงให้เห็นความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมโบราณ

๒) แสดงให้เห็นถึงสภาพการศึกสงครามเมื่อครั้งอดีต

ข้อคิดเตือนใจ ที่ว่าลูกของใครใครก็รัก แต่การที่รักและตามใจลูกจนเกินไปบางครั้งความรักของพ่อแม่ก็อาจจะฆ่าลูกและฆ่าตนเองด้วย



อิเหนา เป็นบทละครที่มีเนื้อหาเป็นที่นิยม เนื่องด้วยสำนวนกลอนมีความไพเราะและเหมาะที่จะนำไปเล่นละคร แม้จะมีเค้าเรื่องมาจากนิทานพื้นเมืองชวา แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับธรรมเนียมและรสนิยมของคนไทยได้โดยไม่ขัดกับเรื่องเดิม นอกจากนี้ผู้อ่านยังอาจแสวงหาความรู้เรื่องประเพณีไทยได้ ด้วยเหตุนี้บทละครเรื่องอิเหนาจึงเป็นวรรณคดีที่มีความโดเด่นและควรค่าแก่การอ่านเป็นอย่างยิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น